ผ้ากันไฟ สำคัญต่อก่อสร้าง/อุตสาหกรรมไทย

ผ้ากันไฟ สินค้ากันความร้อนที่สำคัญต่อวงการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมไทย

ผ้ากันไฟ (Welding Blanket) คืออะไร

ผ้ากันไฟ หรือที่ต้องเรียกกันให้ถูกเมื่อใช้กับงานเชื่อมโลหะคือ ผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อม หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “welding blanket” แต่ในอุตสาหกรรมไทยมีหลายชื่อเรียก เช่น ผ้าใบกันไฟ ผ้ากันความร้อน ผ้าทนไฟ เป็นต้น

ประเภทของผ้ากันไฟ

ผ้ากันไฟที่ใช้ในเมืองไทยจะถูกแยกเป็นประเภทของอุณหภูมิที่จะนำไปใช้งาน คือต่ำกว่า 600 องศาเซลเซียสและเกินกว่า 600 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือสรุปได้ว่ามี 2 ประเภทคือใช้กับงานอุณหภูมิสูงและงานอุณหภูมิต่ำ

ผ้าทนความร้อน ได้เนื่องจากอะไร

ผ้าทนความร้อน ได้เนื่องจากตัวใยผ้าผลิตหรือทอขึ้นมาจากเส้นใยที่มีส่วนผสมของ calcium silicate สูง ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าใยแก้วที่มีส่วนผสมของ silica content ตั้งแต่ 55% ขึ้นไป นอกจากผ้าใยแก้วแล้ว ผ้าทนความร้อนบางชนิดยังผลิตจากใยเซรามิคผสมใยโปลีเอสเตอร์ ผลิตจากใยอรามิด หรือแร่ใยหินเอสเบสตอส

ผ้ากันสะเก็ดไฟ หรือ ผ้าใบกันสะเก็ดไฟเชื่อม ต้องมีคุณลักษณะเป็นอย่างไร

คุณลักษณะสำคัญของ ผ้ากันสะเก็ดไฟ หรือ ผ้าใบกันสะเก็ดไฟเชื่อม คือต้องสามารถต้านทานลูกไฟหรือสะเก็ดไฟที่เกิดจากการเชื่อมหรือเป่าตัดเหล็กไว้ได้ ไม่ให้ทะลุผ่านผ้าจากด้านที่ปะทะไปยังอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลัก ส่วนคุณสมบัติรองแต่ก็มีความสำคัญคือ ต้องมีความทนทานใช้งานได้หลายครั้ง ไม่คันหรือไม่ระคายเคืองต่อผู้ใช้ ไม่มีฝุ่นผงที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ น้ำหนักผ้าไม่เยอะเกินไปจนทำให้ใช้งานหรือเคลื่อนย้ายลำบาก

จำหน่ายผ้ากันไฟ ทำไมราคาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอะไร

ร้านจำหน่ายผ้ากันไฟ มีราคาขายแตกต่างกัน ทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนไม่แน่ใจถึงขั้นตัดสินใจเลือกไม่ได้ สาเหตุที่ราคาผ้ากันไฟแตกต่างกันส่วนหนึ่งมาจากคุณภาพผ้าที่ไม่เหมือนกัน แหล่งที่มาของผ้าต่างกัน (ยุโรป อเมริกา เอเชีย) วัสดุที่นำมาผลิตผ้ากันไฟที่ไม่เหมือนกัน อุณหภูมิที่ทนความร้อนหรือลูกไฟได้ก็ต่างกัน รวมไปถึงใบรับรองอุณหภูมิการใช้งาน ใบรับรองความปลอดภัยของวัสดุ หากทางผู้ผลิตมีเอกสารเหล่านี้ให้ และเป็นเอกสารที่มิได้มีการปลอมแปลงกันขึ้นมาเอง ราคาผ้าที่ซื้อจากแหล่งเหล่านี้ก็จะมีราคาสูงกว่าผ้ากันไฟที่ซื้อจากร้านทั่วไป ที่ไม่มีเอกสารรับรองอะไรเลย

ขายผ้ากันความร้อน ยกม้วน กับเป็นชิ้นงาน ตัดเย็บพับขอบ ในท้องตลาด เป็นอย่างไร

ในตลาดเมืองไทยมีการ ขายผ้ากันความร้อน ให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้งานเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆคือ ขายยกม้วน คือขายผ้ากันความร้อนให้ทั้งม้วน ไม่ว่าจะยาวกี่เมตรหรือจะขอแบ่งจากม้วนเต็ม อีกแบบหนึ่งคือขายให้ในลักษณะตัดเย็บตามขนาดที่ผู้ใช้งานต้องการ เช่น ขนาดผืนละ 2×4 เมตร 3×5 เมตร หรือ 5×10 เมตร เป็นต้น การขายเป็นผืนจะรวมถึงบริการพับขอบพร้อมเจาะตาไก่ (ถ้ามี) ให้ด้วยเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปขึงหรือแขวนที่หน้างานได้ทันที

ผ้าซิลิก้า กันความร้อนได้ กี่องศาเซลเซียส

ผ้าซิลิก้า (high-silica fabric) ที่มีจำหน่ายในเมืองไทยมี 3 ความหนาคือ 0.6-0.7 มม และ 1.3-1.5 มม ส่วนความหนาตั้งแต่ 1.6 มม ขึ้นไปจะเป็นความหนาสั่งพิเศษ การทนอุณหภูมิหรือทนความร้อนของผ้าซิลิก้าที่ทางนิวเทค อินซูเลชั่น เคยทดสอบกับงานเป่าเหล็กตัดเหล็กพบว่า ผ้าซิลิก้าตัวบางสุดทนได้เพียง 600-700 องศาเซลเซียสผ้าก็ทะลุ ส่วนความหนา 1.3-1.5 มม นั้นทนได้ถึง 1100 องศาเซลเซียส ซึ่งเราสามารถสรุปได้ว่าความหนาของผ้าซิลิก้ามีผลกับการทนความร้อนหรืออุณหภูมิใช้งานนั่นเอง

ผ้าใยแก้วกันความร้อนได้ กี่องศาเซลเซียส

ผ้าใยแก้ว (fiberglass fabric) ที่มี silica content ไม่ถึง 90% จะทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 600C ผ้าใยแก้วยิ่งบางก็ยิ่งทนความร้อนได้ไม่ดีหรือผ้าทะลุเร็วนั่นเอง แต่ผ้าใยแก้วที่มีการดัดแปลง (modified fiberglass fabric) เช่น มีการพ่นผงเหล็กฉาบผิวหน้าผ้าเอาไว้ มีการผสมสารกันไฟเคลือบเส้นใยผ้า ผ้าที่มีการทอร่วมกันระหว่างเส้นใยแก้วและส่วนผสมของกราไฟต์ ผ้าใยแก้วที่มีสารเวอร์มิคูไลท์เคลือบอยู่ ผ้าใยแก้วดัดแปลงเหล่านี้จะมีความสามารถในการทนอุณหภูมิเพิ่มขึ้นได้อีก ซึ่งสำหรับผู้ผลิตบางรายก็อ้างไว้ว่าทนได้ถึงอุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส

ผ้ากันความร้อน

ผ้าใยแก้ว ฉนวนใยแก้ว เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ผ้าใยแก้ว และ ฉนวนใยแก้ว มีทั้งความเหมือนและความต่างกัน กล่าวคือ ผลิตจากวัตถุดิบเดียวกันคือเส้นใยแก้ว แต่กรรมวิธีในการผลิตต่างกัน เพราะผ้าใยแก้วผลิตขึ้นจากการทอ (woven) แต่ฉนวนใยแก้วผลิตด้วยวิธีการขึ้นรูป (non woven) ซึ่งถ้าเราสังเกตจะพบว่า ในบางกรณีเราสามารถนำฉนวนใยแก้วมารองสะเก็ดไฟเชื่อมแทนผ้าใยแก้วก็ได้ หรือในทางกลับกันเราสามารถนำผ้าใยแก้วมาพันท่อร้อนแทนการหุ้มฉนวน ก็ทำให้อุณหภูมิที่ผิวท่อลดลงได้เหมือนกันแต่อาจลดลงได้ไม่ดีเท่าเอาฉนวนใยแก้วหุ้มท่อร้อนโดยตรง

ผ้ากันไฟ กันน้ำได้ใหม

ผ้ากันไฟ สามารถโดนน้ำได้ และไม่จำเป็นต้องนำไปชุบน้ำก่อนใช้งาน หากต้องการให้ผ้ากันไฟมีคุณสมบัติกันน้ำ (น้ำไม่ซึมผ่านมายังอีกด้าน) ต้องเลือกใช้ผ้ากันไฟที่เคลือบสารกันน้ำอย่างเช่น เคลือบซิลิโคนน้ำหนัก 100 กรัม/ตร.ม.ขึ้นไป หรือเคลือบ PTFE (Teflon) จึงจะมีคุณสมบัติ waterproof หรือกันน้ำอย่างที่เราต้องการ แต่ก็ต้องเข้าใจและยอมรับว่าซิลิโคนและเทฟล่อนที่เคลือบผ้านั้น จะทำให้ประสิทธิภาพในการทนอุณหภูมิสูงๆของผ้าลดลง เนื่องจากทั้งซิลิโคนและเทฟล่อนจะทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 260-300 องศาเซลเซียสเท่านั้น

ผ้ากันไฟ นำมาตัดทำชุดหมี ชุดกันความร้อน ได้หรือไม่ อย่างไร

ผ้ากันไฟ หรือผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อมที่ผลิตจากเส้นใยแก้ว ใยซิลิก้าหรือใยอื่นๆที่มิใช่เส้นใยจำพวก อรามิดหรือโปลีเอสเตอร์ดัดแปลง จะไม่เหมาะที่จะนำมาตัดเย็บเป็นชุดกันความร้อน เนื่องจากจะมีความหนาและน้ำหนักผ้าที่เยอะเกินไป (500 กรัม/ตร.ม. ขึ้นไป) ส่วนใหญ่แล้วชุดกันความร้อน ชุดสะท้อนความร้อนจะใช้ผ้าที่ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง และมีน้ำหนักไม่เกิน 300-400 กรัม/ตร.ม. เท่านั้น

ผ้ากันความร้อน นำมาทำเป็น ฉนวนกันความร้อน ได้ใหม

ในบางกรณีสามารถนำ ผ้ากันความร้อน มาใช้แทนฉนวนกันความร้อนได้ เช่น การใช้ ผ้ากันความร้อนพันท่อไอน้ำ (steam pipes) หรือการใช้ผ้ากันความร้อนมาพันท่อไอเสียของเครื่องยนต์ แต่ไม่ใช่ทุกงานที่จะนำผ้ากันความร้อนมาใช้เป็นฉนวนกันความร้อนได้ ด้วยเหตุผลหลายประการเช่น ค่าสัมประสิทธิ์ในการนำความร้อน ความสะดวกในการถอดใส่ ระยะเวลาที่ต้องการให้สั้นที่สุดในการซ่อมบำรุง การทำความสะอาดบริเวณท่อหรืออุปกรณ์ที่ต้องการหุ้มฉนวนกันความร้อนเป็นต้น

ผ้าใบกันสะเก็ดไฟเชื่อม สำคัญต่องาน กันความร้อน อย่างไร

ผ้าใบกันสะเก็ดไฟเชื่อม มีประโยชน์ในการป้องกันอัคคีภัย จากงานเชื่อมหรือตัดโลหะ ช่วยป้องกันเฟอร์นิเจอร์หรือของมีค่าไม่ให้โดนสะเก็ดไฟหรือลูกไฟเชื่อม รวมไปถึงการป้องกันความร้อนแผ่จากงานเชื่อม มิให้ทำปฏิกิริยากับไอน้ำมันหรือสารเคมีบางตัวได้ การเชื่อมในโรงงาน ในอาคาร หรือบริเวณที่มีวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงได้ โดยไม่มีผ้าใบกันสะเก็ดไฟเชื่อม ถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้
Tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.